คริปโตเคอร์เรนซี เงินสกุลดิจิทัลที่รัฐบาลไทยต่อต้าน
เงินสกุลดิจิทัลปัจจุบันนี้นับว่าเกิดขึ้นมาใหม่อย่างแพร่หลายไปทั่วโลก สำหรับเงินสกุลดิจิทัลที่รู้จักกันดีอย่าง คริปโตเคอร์เรนซีนั้น กลับกลายเป็นสกุลเงินที่ภาครัฐหันมาต่อต้านมากยิ่งขึ้น โดยมีเหตุผลหลายข้อที่รัฐบาลกลางของแต่ละประเทศซึ่งรวมไปถึงประเทศไทย
ที่มองว่าสกุลเงินคริปโตอาจทำให้เกิดปัญหาตามมาหลายด้าน อย่างเช่น การฟอกเงิน การถูกโจรกรรมไซเบอร์ และการควบคุมจัดเก็บภาษีที่มีช่องโหว่ จึงทำให้ภาครัฐหันมาต่อต้านเงินสกุลดิจิตัลนี้มากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ แต่อย่างไรก็ตามภาครัฐทราบดีว่าไม่สามารถหยุดยั้งเงินสกุลนี้ในระบบได้จึงได้เตรียมการ รับมือ ไว้แล้วเช่นกัน
เหตุผลที่ ทำไมภาครัฐถึงไม่สนับสนุน คริปโตเคอร์เรนซี
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกมากล่าวว่า "ไม่สนับสนุนการใช้เงินสกุลเงินดิจิทัลต่างๆ หรือ เงินคริปโต ในการชำระสินค้าและบริการ เนื่องจากมีความผันผวนของคริปโต มีความเสี่ยงในการถูกโจรกรรมทางไซเบอร์สูง เป็นช่องว่างที่สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการฟอกเงิน โดยแนวความคิดนี้ได้สอดคล้องกับแนวทางของธนาคารกลางและหน่วยงานกำกับดูแลในหลายๆประเทศ อย่างเช่น สหภาพยุโรป อังกฤษ สหัฐอเมริกา เป็นต้น
เหตุผลสำคัญทั้ง 3 อย่าง ที่ภาครัฐของไทยไม่สนับสนุนการใช้เงินสกุลคริปโตเคอร์เรนซี
- สกุลเงินดิจิทัล ที่เข้ารหัสนั้นรัฐไม่สามารถควบคุมได้ จึงทำให้โครงสร้างดั้งเดิมของระบบการเงินมีความผันผวนและอาจใช้ไม่ได้อีกต่อไป ทำให้ควบคุมยาก กระทบต่อระบบเศษฐกิจการเงินทั่วโลก
- เงินสกุลดิจิทัลเกือบทั้งหมด ที่เข้ารหัสอาจนำไปให้กลุ่มเงินสีเทานำไปใช้ฟอกเงินได้อย่างแพร่หลาย ในเรื่องที่ผิดกฎหมาย อย่างเช่น ค้าประเวณี ยาเสพติด การพนันที่ผิดกฏหมาย ค้าอาวุธ ก่อการร้าย เป็นต้น
- เป้าหมายของการใช้ สกุลเงินดิจิทัลแบบเข้ารหัสนี้ยังไม่สามารถระบุได้อย่างแน่นอนว่าใช้เพื่ออะไร ภาครัฐจึงไม่อาจที่จะควบคุมและออกแบบการดำเนินงานเกี่ยวกับเงินคริปโต ได้อย่างเหมาะสมได้ ควบคุมยาก
ธนาคารแห่งประเทศไทย กับ เงินสกุลดิจิทัลคริปโต
นับว่าธนาคารแห่งประเทศไทยนั้น มีท่าทีต่อต้านสกุลเงินเข้ารหัส อย่างคริปโตเคอร์เรนซี ได้อย่างชัดเจน โดยหลังจากที่ธนาคารยักษ์ใหญ่แห่งหนึ่งเข้าซื้อแพลตฟอร์มซื้อขายสกุลเงินดิจิทัลสัญชาติไทยขึ้นมา จึงทำให้บุคคลทั่วไปหันมาสนใจเงินสกุลคริปโตมากยิ่งขึ้น
ซึ่งปัจจุบันประชาชนทั่วไป ไม่ได้มองว่าจะนำเงินสกุลดิจิทัลนี้ มาใช้เพียงแต่การนำมาชำระค่าสินค้า หรือ บริการ เท่านั้น ยังหันมานำสินทรัพย์ดิจิทัลเหล่านี้ซื้อเพื่อการลงทุนอีกด้วย จึงทำให้เกิดความเสี่ยงในเรื่องของความผันผวนของคริปโต ที่ขึ้นลงแบบไม่เสถียร การถูกโจรกรรมทางไซเบอร์ที่มีช่องโหว่ และยังถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการฟอกเงินให้กับกลุ่มบุคคลเงินสีเทาอีกด้วย
นอกจากธนาคารแห่งประเทศไทยที่ออกมายืนยัน ไม่สนับสนุนเงินสกุลดิจิทัลนี้แล้วยังมีอีกหลายประเทศที่มีความคิดเก็นคล้ายคลึงกัน อย่างเช่น ธนาคารกลางอังกฤษที่ประกาศแบนไบแนนซ์ (Binance) ที่เป็นแพลตฟอร์มซื้อขายเงินสกุลดิจิทัลคริปโต หน่วยงานกำกับดูแลแห่งสหภาพยุโรป ตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐอเมริกา ก็ออกมา กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยเช่นกัน เนื่องจากการตรวจสอบเส้นทางการเงินของสกุลนี้เป็นไปได้ยากมากในปัจจุบัน
สกุลเงินดิจิทัล สู่ยุคสมัยใหม่ในอนาคต
ไม่ว่าจะมีการต่อต้าน หรือ มีการสนับสนุนเงินสกุลดิจิทัลเข้ารหัสนี้ ก็ถือว่ายังเติบโตมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ และอาจเป็นไปได้ว่าเศรษฐกิจในโลกอนาคตอาจจะเป็น ยุคของหนึ่งประเทศหลายสกุลเงินก็อาจเป็นไปได้ ที่เปิดทางให้เอกชนพิมพ์เงินตราเป็นของตนเอง ก่อให้เกิดการแข่งขันกันระหว่างสกุลเงินเพื่อนำไปสู่สกุลที่มีเสถียรภาพมากที่สุดนั่นเอง และทางภาครัฐเองก็ยังสามารถที่จะห้ามได้เช่นกัน จึงต้องหันมาปรับตัวและธนาคารกลางหลายแห่งก็ยังเตรียมความพร้อมที่จะกระโดดเข้าสู่ตลาดเงินดิจิทัลนี้ และได้เริ่มพัฒนาเงินสกุลดิจิทัลของตนเอง (Central Bank Digital Currency) อย่างประเทศจีนที่เริ่มทดลองให้ประชาชนบางส่วนใช้เงินหยวนดิจิทัลกันได้แล้ว และอนาคตของเงินดิจิตอลยังต้องพ่วงด้วยเทคโนโลยี ai ที่กำลังพัฒนาและมีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งกับสกุลเงินดิจิตอลนั่นอาจจะมาช่วยในเรื่องการตรวจสอบความปลอดภัย และระบบในการควบคุมจัดการให้มีประสิทธิภาพสูงสุดกับการใช้งานอย่างแน่นอน