ThaiBets365

นักกีฬาโปโลหญิงของไทย

Thaibets365 Team
โดย Thaibets365 Team
โบโลหญิง

จับตามองวงการโปโลหญิงไทย  

หลายๆคนอาจจะเคยได้ยินชื่อกีฬาหลายๆประเภท ที่อาจจะไม่คุ้นชิน หรือเคยได้ยินแต่ไม่ทราบว่ามีประวัติความเป็นมาหรือมีวิธีการเล่นอย่างไร เพราะการแข่งขันกีฬาบางประเภทนั้น ไม่ได้ใช้แต่ทักษา พละกำลัง และไหวพริบในการแข่งขันเท่านั้น ยังมีการแข่งขันบางประเภทที่ต้องมีอุปกรณ์ หรือปัจจัยอื่นในการแข่งขันด้วยเช่นกัน อาทิเช่น การแข่งขันยิงปืน ธนู แม้กระทั่งสัตว์ เพื่อเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการแข่งขันนอกเหนือไปจากตัวผู้เล่นเองก็ตาม  

ในบทความนี้ทางเวปไซด์เราจะขอนำเสนอบทความเกี่ยวกับกีฬาชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “ โปโล “   

‘โปโล’ เป็นกีฬาบนหลังม้า และจัดว่าเป็นกีฬาชนิดเดียวที่มีอุปกรณ์การเล่นเป็นสิ่งมีชีวิตคือม้า เป็นที่รู้กันว่าม้าหนึ่งตัวมีค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงและดูแลและค่าตัวเป็นราคาเลขหลายหลัก จัดได้ว่าเป็นกีฬาที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง และด้วยความที่ต้องใช้เงินในการดูแล ดังนั้นผู้คนที่จะเล่นกีฬาชนิดนี้ได้ต้องเป็นผู้ที่ค่อนข้องมีฐานะเป็นส่วนใหญ่ กีฬาชนิดนี้จึงถูกนิยามให้เป็นกิจกรรมของเศรษฐี โปโลจึงเป็นกีฬาที่มีไลฟ์สไตล์ในหมู่ผู้ดีมีตระกูลหรือมีฐานะดี และเป็นกีฬาโปรดในหมู่พระบรมวงศานุวงศ์ทั้งของไทยและในต่างประเทศ แม้แต่คนดูก็ยังแต่งกายสวยงามไปชมและเชียร์ ทำให้โปโลเป็นกีฬาที่ให้ความรู้สึกถึงความหรูหรา สง่างาม จึงไม่น่าแปลกใจที่การแข่งขันกีฬาโปโลจึงเป็นที่ชื่นชอบของคนเฉพาะกลุ่ม ซึ่งในแวดวงโปโลไทย จะมีนักกีฬาโปโลหญิงเพียงไม่กี่คน และอาจจะไม่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย เนื่องจากที่กล่าวไปข้างต้นแล้วว่ากีฬาชนิดนี้เป็นกีฬาที่มีผู้สนใจเฉพาะกลุ่ม แต่นักโปโลหญิงไทยที่เป็นที่รู้จักและค่อนข้างมีชื่อเสียงมีดังนี้  

  • พลอย ปิ่นแสง ลูกสาวหัวแก้วหัวแหวนของ กนกศักดิ์ ปิ่นแสง นายกสมาคมขี่ม้าโปโลแห่งประเทศไทย และยังเป็นนักกีฬาโปโลหญิงทีมชาติไทย
  • คุณพิม-ซอนย่า คูลลิ่ง อดีตนักแสดง นางแบบ
  • น้องหลิง หลิง-ศศิร์รัช โตมงคล นักกีฬาขี่ม้าโปโลหญิงดาวรุ่ง 

ประวัติของโปโล 

กีฬาชนิดนี้เริ่มต้นโดยการแข่งขันระหว่างชาวเปอร์เซียกับชาวเติร์กโคมัน ราว 600 ปีก่อนคริสตกาล แต่ผู้ที่ได้รับการบันทึกว่าเป็นผู้นำกีฬาชนิดนี้ไปเผยแพร่ คือชาวมองโกลในยุคของเจงกีสข่าน ที่พอรบได้ชัยชนะก็ทำการประหารเชลยศึกด้วยการตัดศีรษะ แล้วนำศีรษะที่ถูกตัดไปตีเล่น จากนั้นจึงค่อยๆพัฒนาเรื่อยมากระทั่งกลายเป็นกีฬาบนหลังม้าแพร่หลายไปยังแถบเปอร์เซียและดินแดนฝั่งตะวันออก โดยเฉพาะในอินเดียที่พอชาวอังกฤษซึ่งเป็นเจ้าของอาณานิคมได้มาพบเข้า ก็นำกลับไปเล่นบ้าง กระทั่งมีการก่อตั้งเป็นสโมสรขึ้นและถูกเผยแพร่ไปทั่วโลก 

ตามบันทึกจากประวัติศาสตร์นั้น การขี่ม้าโปโล เริ่มขึ้นประมาณ 2600 ปีก่อน ในอาณาจักรเปอร์เซีย โดยเริ่มแรก ลูกบอลที่ใช้เล่นจะทำด้วยหนังสัตว์ หลังจากนั้น ในยุคที่เผ่ามองโกลเรืองอำนาจ ก็ได้รุกรานไปในอาณาจักรต่างๆ และรับเอากีฬานี้ไว้ เพราะชาติมองโกลเป็นชาติที่ขี่ม้าเก่งอยู่แล้ว จึงไม่ยากที่จะเล่นกีฬาขี่ม้าโปโล แต่การเล่นกีฬาขี่ม้าโปโลของชาวมองโกลนั้น จะดูโหดร้ายทารุณกว่า เพราะใช้ “หัวของนักโทษหรือเชลยศึก” เป็นลูกบอลแทน ซึ่งจริงๆแล้ว ก็ไม่น่าจะเป็นเรื่องแปลกอะไรมากมายหนัก เนื่องจากในยุคสงคราม ผู้เสียชีวิตไม่เว้นแต่ละวันอยู่แล้ว 

หลังจากนั้น ในยุคที่มีการล่าอาณานิคม ทหารจากประเทศที่มาล่าอาณานิคมเหล่านี้ ก็เริ่มได้สัมผัสกีฬานี้และนำกลับไปเล่นในบ้านเมืองของตน มีการพัฒนา ปรับเปลี่ยน ตลอดจนเพิ่มเติมกฎ  - กติกา ที่ชัดเจนเป็นแบบแผนมากขึ้น จนกลายเป็นกีฬาโปโลดังที่เห็นในปัจจุบัน 

สำหรับกีฬาขี่ม้าโปโลในประเทศไทย จากบันทึกที่เชื่อถือได้พบว่า กีฬาประเภทนี้ เข้ามาในประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ 7 แห่งราชงวงศ์จักรี หรือเมื่อประมาณ 80 กว่าปีก่อน โดยเป็นการนำทีมอังกฤษที่ประจำอยู่ที่เกาะปีนัง (สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นทหารอังกฤษที่ประจำการอยู่ที่เกาะปีนัง – ผู้เรียบเรียง) มาเล่นถวายต่อหน้าพระที่นั่ง จากนั่น ก็มีการก่อตั้งสโมสรขี่ม้าตีคลีในพระบรมราชูปถัมภ์ขึ้น เพื่อส่งเสริมกีฬานี้เป็นการเฉพาะ แต่เป็นที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่งที่ “โปโล” กลับกลายเป็นกีฬาที่นิยมกันอยู่ในวงจำกัดเฉพาะชาวต่างชาติ ที่มาตั้งรกรากเพื่อทำธุรกิจในประเทศไทย และกลุ่มชนชั้นสูงในสังคมเท่านั้น จนในที่สุด เมื่อประมาณ 50 กว่าปีก่อนหน้านี้ การดำเนินการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกีฬาขี่ม้าโปโลของสโมสรนี้ ก็ต้องล้มเลิกไป ด้วยอาจเป็นเพราะข้อจำกัดต่างๆ ของกีฬาโปโลเอง ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูม้า ความชำนาญในการขี่ม้าของผู้เล่น กฎ – กติกา และปัจจัยอื่นๆ ซึ่งล้วนแต่ทำให้โปโลกลายเป็นกีฬาที่ ”แพง” และ “ยุ่งยาก” ในสายตาของคนทั่วไป ดังนั้น กีฬาขี่ม้าโปโลจึงเสื่อมความนิยมเป็นลำดับ ซึ่งหากเปรียบเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาคเดียวกันแล้ว ความสนใจและความนิยมในกีฬาขี่ม้าโปโลนั้น จะแตกต่างจากประเทศเราเป็นอย่างยิ่ง ส่วนการขี่ม้าโปโล (Polo) หรือที่ในอดีตเราเรียกกันว่า “ตีคลี” นั้นได้รับความสนใจในวงแคบ จนแทบจะกล่าวได้ว่าความสนใจในกีฬาขี่ม้าโปโลนั้นเกือบจะเป็นศูนย์ 

 ความเคลื่อนไหวแวดวงโปโลหญิงไทยล่าสุด  

สมาคมกีฬาขี่ม้าโปโลแห่งประเทศไทย (Thailand Polo Association) จัด 3 รายการแข่งขันกีฬาขี่ม้าโปโลประจำปี 2565 และอยู่ภายใต้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของ โรคโควิด-19 แข่งขัน “Thailand Ladies’ Polo Tournament 2022” (ไทยแลนด์ เลดี้ส์ โปโล ทัวร์นาเม้นต์ 2022) วันที่ 12-13 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมานี้ที่วีเอส สปอร์ตคลับ แอนด์ สยามโปโล ปาร์ค อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ  

ครั้งนี้มีนักกีฬาเข้าแข่งขันทั้งหมด 3 ทีม ได้แก่ ทีมวีเอส สปอร์ต คลับ ทีมสยาม โปโล ปาร์ค พัทยา และทีมมาเรงโก้ เป็นการแข่งขันแบบพบกันหมด  ทีมที่สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศในการแข่งขัน ‘Thailand Ladies’ Polo Tournament 2022’ ไปครองได้สำเร็จ ได้แก่ ทีมวีเอส สปอร์ต คลับ หลังเก็บคะแนนรวมเหนือกว่าเอาชนะอีก 2 ทีม ทำให้ทีมมาเรงโก้ คว้าอันดับสอง และทีมสยามโปโล ปาร์ค พัทยา คว้าอันดับสามตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีการมอบรางวัล MVP AWARD หรือรางวัลผู้เล่นทรงคุณค่าประจำการแข่งขัน ซึ่งตกเป็นของ ‘หลิงหลิง – ศศิร์รัช โตมงคล’ นักกีฬาโปโลหญิง ทีมสยามโปโล ปาร์คพัทยา 

นอกจากการแข่งขันที่เพิ่งผ่านพ้นไป ทางสมาคมยังเตรียมจัดการแข่งขันอีก2 รายการสำคัญ ที่จะจัดขึ้นในเดือนมีนาคมและเมษายน คือการแข่งขันกีฬาขี่ม้าโปโลรายการ“ดิ แอมบาสซาเดอร์ คัพ 2022” (The Ambassador Cup 2022) เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ และยังมีการแข่งขันรายการ “ไทยแลนด์ โปโล แชมเปี้ยนชิพ 2022” (Thailand Polo Championship 2022) ที่จะจัดขึ้นเพื่อเป็นเวทีในการพัฒนาศักยภาพและเตรียมความพร้อมสำหรับนักกีฬาขี่ม้าโปโลในประเทศไทยให้ก้าวไปสู่นักกีฬาขี่ม้าโปโลทีมชาติไทยในอนาคต   

เป็นข่าวสารความเคลื่อนไหวคร่าวๆที่เรานำเสนอให้ผู้ที่ชื่นชอบการพนันออนไลน์ได้อัพเดทกัน  

เพิ่ม บทความ

รับโบนัสเครดิตฟรีสุดคุ้ม

ลงทะเบียนเพื่อรับข่าวสารและโปรโมชั่นใหม่ จากคาสิโนออนไลน์และสปอร์ตบุ๊คจากพันธมิตรของเรา

คุณสามารถกดเลิกติดตามได้ทันที่ที่คุณต้องการ

ในการติดตามคุณต้องยืนยันว่าคุณอายุเกิน 18 ปี